ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญชวนนักเรียนระดับมัธยมปลาย หรือนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ไม่จำกัดสาขา หรือคณะที่เรียน ส่งผลงานเข้าร่วมแข่งขันสร้างแอปพลิเคชัน ชิงเงินรางวัลรวม 100,000 บาท
เปิดรับสมัครและส่งผลงานถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2566
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในการนำข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าและข้อมูลคุณภาพอากาศที่มาจากอุปกรณ์ตรวจวัดต่าง ๆ ภายในเมืองหรือชุมชน มาพัฒนาสร้างเป็นโปรแกรมประยุกต์หรือแอพพลิเคชัน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชน รวมถึงเพื่อการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตอบสนองนโยบายเมืองอัจฉริยะได้ในอนาคต
ผู้เข้าร่วมโครงการและคุณสมบัติ
นักเรียนระดับมัธยมปลาย หรือ นิสิต นักศึกษา ทุกสาขาวิชา คณะ มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษา กำลังศึกษาอยู่ไม่เกินระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จำนวนไม่เกิน 20 ทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 60 คน
ลักษณะกิจกรรมและเกณฑ์การพิจารณาตัดสิน
- ผู้สนใจเข้าร่วมการแข่งขัน ส่งใบสมัครแบบทีม ทีมละไม่เกิน 3 คน พร้อมเอกสารแสดงแนวคิดการออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชันที่น่าสนใจ สำหรับโครงการ Chula Smart Campus เช่น Data analytics, Data visualization, Chatbot และ อื่น ๆ นำเสนอด้วยวิดีโอความยาวไม่เกิน 3 นาที ประกอบด้วย หัวข้อ
- ที่มาและความสำคัญของปัญหา (pain point)
- แนวทางการพัฒนาคำตอบ (conceptual solution)
- ตัวอย่างการวิเคราะห์ข้อมูล หรือการออกแบบหน้าจอแสดงผล หรือส่วนต่อประสาน (User Interface) /ส่วนที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (User Interaction)
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (expected benefit)
- คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่ผ่านการพิจารณา จำนวน 20 ทีม จากคุณสมบัติของทีมผู้สมัครและจากวิดีโอนำเสนอในข้อ 1) เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบแรก
- ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 ทีม จะได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่ตรวจวัด การจัดเก็บ และการแสดงผลในโครงการ Chula Smart Campus
- ทีมผู้เข้าแข่งขัน จะมีเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ในการออกแบบและนำเสนอแนวคิดในการพัฒนาแอพพลิเคชัน ต่อยอดจากที่โครงการแสดงไว้ โดยใช้ข้อมูลที่ตรวจวัด นำเสนอผ่านสื่อคลิปวิดีโอ ความยาวไม่เกิน 7 นาที ส่งคลิปวิดีโอดังกล่าวภายในเวลาที่กำหนด
- คณะกรรมการจะคัดเลือกทีมที่ผ่านการพิจารณาจำนวน 10 ทีม เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในรอบสุดท้าย
- ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีม ในรอบสุดท้าย จะได้เข้ารับการอบรมรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลที่ทางผู้จัดงานจัดเตรียมไว้ให้แล้ว โดยเป็นข้อมูลจาก IoT Devices ที่ติดตั้งในโครงการ Chula Smart Campus ที่ได้อธิบายไว้ในข้อ 3)
- ผู้จัดงานเปิดให้ทีมผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 ทีม สุดท้าย เข้าถึงข้อมูลและเริ่มดำเนินการพัฒนาแอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ โดยมีระยะเวลาประมาณ 10 วัน จากนั้น แต่ละทีมส่งผลงานขั้นต่ำในรูปแบบ Rapid Prototype ของแอพพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น โดยส่งผลเป็น Github link
- ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอผลงาน/สาธิตการทำงานของซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้น ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน ในการนำเสนอครั้งสุดท้าย โดยมีเวลาในการนำเสนอ/สาธิต รวมไม่เกิน 7 นาที และเวลาในการตอบคำถามคณะกรรมการอีกไม่เกิน 13 นาที สถานที่ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รายละเอียดห้องและอาคารจะแจ้งยืนยันให้ทราบภายหลัง) ในวันและเวลาที่กำหนด
- คณะกรรมการประกาศผลการตัดสินรางวัลลำดับที่ 1 – 3 โดยคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
วิธีการสมัคร
กรอกใบสมัครพร้อมแนบไฟล์/ลิงก์วิดีโอนำเสนอ (ปิดรับสมัคร)
รางวัล (รวมเงินรางวัลทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาท)
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมใบประกาศนียบัตร
- ผู้ผ่านเข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย จะได้รับประกาศนียบัตรจากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
ผลงานที่ได้รับรางวัล และอาจรวมถึงผลงานอื่น ๆ จากทีมผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จะนำไปจัดแสดงไว้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงบูรณาการด้าน Smart Living Solutions บนพื้นที่ Gewertz Square ต่อไปด้วย
เกี่ยวกับ CU Smart Campus
เยี่ยมชมเว็บไซต์ https://cusmart.chula.ac.th/
ประกาศผลทีมที่ได้รับรางวัล
Chula Smart Campus Future Energy IoT APP Contest
รางวัล | Team name | School/University |
---|---|---|
รางวัลชนะเลิศ | Smart Campus Blueprint | โรงเรียนทวีธาภิเศก |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 | PAD | โรงเรียนนครสวรรค์ |
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 | ATELO | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |