News
ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
ความสำคัญของหลักสูตร
เป็นหลักสูตรผลิตวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมทั้งด้านกำลังงาน การสื่อสาร ระบบควบคุม และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในและต่างประเทศ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2559)
1) เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพียงพอแก่การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า
2) เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้อง
3) เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ
4) เพื่อให้นิสิตสามารถวางแผนการศึกษาของตนเองให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษาได้
5) เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความรอบรู้เรื่องทั่วไป กฏหมาย และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับอาชีพวิศวกร
6) เพื่อเสริมสร้างให้นิสิตเป็นผู้ครองตนในคุณธรรม และมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2561)
-คงเดิม-
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับปริญญาบัณฑิตทั้ง 5 ด้านที่กำหนดในกรอบมาตรฐานการศึกษาของ ส.ก.อ. ดังนี้
- ด้านคุณธรรม จริยธรรม
- ด้านความรู้
- ด้านทักษะทางปัญญา
- ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
- ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข พลังงานการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้านี้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลกซึ่งประกอบด้วย 9 ด้าน 14 ประเด็น ดังนี้
- มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)
- มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ)
- คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)
- ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)
- ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้)
- มีภาวะผู้นำ
- มีสุขภาวะ
- มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
- ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์
โดยที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้ยังมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำหนดไว้ 13 องค์ประกอบ ดังนี้
- มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ – มีความรู้กว้างและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
- สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ – สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตรไฟฟ้า ไปประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาในการทำโครงงานพิเศษ และในรายวิชาการฝึกงาน ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมศาสตร์
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา – มีทักษะด้านการเรียนรู้ การคิดอย่างใช้เหตุผล การวิเคราะห์และกระบวนการแก้ปัญหาด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบ ระบุปัญหาที่ซับซ้อนได้ วิเคราะห์ปัญหาได้
- สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา – สามารถมองนอกกรอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ตามระเบียบ ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงถึงสาธารณสุขชุมชน คำนึงถึงวัฒนธรรมและสังคม สิ่งแวดล้อม
- สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง – สามารถตรวจสอบ สืบค้นข้อเท็จจริง วางแผนควบคุมปัญหา/กระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลการดำเนินงาน เพื่อหาบทสรุปได้อย่างมีประสิทธิผล
- สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย – การเลือกใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย ประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย มีทักษะในเลือกใช้เครื่องมือในการทำโครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้าหรือทางไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย สร้างเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย
- สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม – สามารถทำงานด้วยตนเองและสามารถทำงานในสถานะผู้นำของทีมและสมาชิกของทีม
- สามารถติดต่อ สื่อสาร กับคณะทำงาน องค์กรวิชาชีพ กับสังคม – สามารถอธิบายสื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจได้ ทั้งในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ และการนำเสนอด้วยวาจา
- ตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม – จะต้องตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อความปลอดภัย สาธารณสุขชุมชน วัฒนธรรมและสังคม และการปฏิบัติงานในเชิงกฎหมาย
- มีจริยธรรม – มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีวิสัยทัศน์ต่อวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ
- ตระหนัก และ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง – จะต้องตระหนักและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานแบบยั่งยืนและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- การจัดการความเสี่ยงและการลงทุน ตระหนัก และ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน – จะต้องตระหนัก และ/หรือมีความรู้ในการจัดการความเสี่ยง และการลงทุน ความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์ และสามารถบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์
- ตระหนัก และ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ – ตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีพ โดยเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร มีลักษณะเด่นคือ จะต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า โดยต้องมีความสามารถในการวิจัยและมีทักษะตามมาตรฐานในระดับนานาชาติ รวมถึงมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณ และสามารถพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการและสังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืนในประชาคมโลก
คณะที่ปรึกษาจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board: IAB)
เพื่อให้การวางแผนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสถานการณ์ภายนอกอื่นๆ ทางภาควิชาฯ จึงขอแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board: IAB) ของทั้ง 3 หลักสูตร ตามคำสั่งแต่งตั้งที่ วฟ.13/2565 โดยมีรายนามดังต่อไปนี้
- ดร.วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์
- ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ
- ดร.นัยวุฒิ วงษ์โคเมท
- ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
- คุณวฤต รัตนชื่น
- คุณพงศกร อู่วุฒิพงษ์
- ดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ
- ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม
- คุณศรัณย์ เลิศหิรัญวงศ์
โดยคณะที่ปรึกษามีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ของทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ช่วยพัฒนาการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สะท้อนความต้องการจำนวนบัณฑิตที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมใน 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
- ช่วยวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
ทุนการศึกษา ศ. ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ประจำปีการศึกษา 2567
Form Download
- ทุนสนับสนุนโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและฝึกงานในต่างประเทศ
- ทุนสนับสนุนนิสิตโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ณ Lunghwa University of Science and Technology ประเทศสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
- ทุนการศึกษา ศ.ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ประจาปีการศึกษา 2567
- Student Grant Announcement of Department of Electrical Engineering for Academic Event Attendance
- ทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนนิสิต/อาจารย์ที่ปรึกษา ในหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตแบบต่อเนื่อง โปรแกรมความเชื่อมโยงอุตสาหกรรม
- Student Reward Announcement of Department of Electrical Engineering for Excellent Achievement from Academic Event Attendance
- ใบสมัครขอรับทุนการศึกษา
- ประกาศจุฬาฯ เรื่องเกณฑ์และอัตรากิจการนิสิต 2559
แบบฟอร์มการขอใช้ห้องปฏิบัติการแบบฟอร์มการขอเข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการแบบฟอร์มการยืม-คืน ครุภัณฑ์สำนักงานแบบฟอร์มการยืม-คืน ครุภัณฑ์ห้องปฏิบัติการแบบฟอร์มการยืม-คืน วัสดุ-อุปกรณ์การทดลองแบบฟอร์มการยืม-คืน วัสดุ-อุปกรณ์สำนักงานแบบฟอร์มขอใช้ห้องประชุม/ห้องเรียน-ห้องสอบ