Cook
Undergraduate Program

News

ปรัชญา ความสำคัญ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

ปรัชญาของหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า

หลักสูตรผลิตบัณฑิตวิศวกรที่มีความรู้ทางวิศวกรรมไฟฟ้าทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก  มีทักษะในการประยุกต์ วิเคราะห์ และแก้ปัญหาทางวิศวกรรม อย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ มีคุณธรรมและสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ สามารถวางแผนการศึกษาให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษาได้  บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสามารถทำงานและปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

         ความสำคัญของหลักสูตร

                เป็นหลักสูตรผลิตวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อตอบสนองต่ออุตสาหกรรมทั้งด้านกำลังงาน การสื่อสาร ระบบควบคุม และไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  ทั้งในและต่างประเทศ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2559)

1)    เพื่อให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์เพียงพอแก่การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า

2)    เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้อง

3)    เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตมีอิสระในการเลือกเรียนตามแนวทางที่ต้องการ 

4)    เพื่อให้นิสิตสามารถวางแผนการศึกษาของตนเองให้ต่อเนื่องไปยังระดับบัณฑิตศึกษาได้

5)    เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ความรอบรู้เรื่องทั่วไป กฏหมาย และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้องกับอาชีพวิศวกร

6)    เพื่อเสริมสร้างให้นิสิตเป็นผู้ครองตนในคุณธรรม และมีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรับปรุง (พ.ศ. 2561)

-คงเดิม-

          วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ในระดับปริญญาบัณฑิตทั้ง 5 ด้านที่กำหนดในกรอบมาตรฐานการศึกษาของ ส.ก.อ. ดังนี้

  1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
  2. ด้านความรู้
  3. ด้านทักษะทางปัญญา
  4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข พลังงานการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้านี้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตจุฬาฯ เป็นผู้ที่มีคุณค่าของสังคมโลกซึ่งประกอบด้วย 9 ด้าน 14 ประเด็น ดังนี้

  1. มีความรู้ (รู้รอบ รู้ลึก)
  2. มีคุณธรรม (มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจรรยาบรรณ)
  3. คิดเป็น (สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีทักษะในการคิดแก้ปัญหา)
  4. ทำเป็น (มีทักษะทางวิชาชีพ มีทักษะทางการสื่อสาร มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีทักษะทางคณิตศาสตร์และสถิติ มีทักษะการบริหารจัดการ)
  5. ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ (ใฝ่รู้ รู้จักวิธีการเรียนรู้)
  6. มีภาวะผู้นำ
  7. มีสุขภาวะ
  8. มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ
  9. ดำรงความเป็นไทยในกระแสโลกาภิวัตน์

โดยที่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรนี้ยังมีคุณลักษณะที่สอดคล้องตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำหนดไว้ 13 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ – มีความรู้กว้างและรู้ลึกในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
  2. สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ – สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตรไฟฟ้า ไปประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาในการทำโครงงานพิเศษ และในรายวิชาการฝึกงาน   ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมศาสตร์
  3. สามารถวิเคราะห์ปัญหา  – มีทักษะด้านการเรียนรู้ การคิดอย่างใช้เหตุผล การวิเคราะห์และกระบวนการแก้ปัญหาด้วยการวิจัยอย่างเป็นระบบ  ระบุปัญหาที่ซับซ้อนได้ วิเคราะห์ปัญหาได้
  4. สามารถออกแบบและพัฒนาทางแก้ปัญหา – สามารถมองนอกกรอบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ตามระเบียบ  ออกแบบการแก้ปัญหาที่คำนึงถึงความปลอดภัย คำนึงถึงสาธารณสุขชุมชน  คำนึงถึงวัฒนธรรมและสังคม  สิ่งแวดล้อม
  5. สามารถตรวจสอบ/สืบค้นข้อเท็จจริง – สามารถตรวจสอบ สืบค้นข้อเท็จจริง วางแผนควบคุมปัญหา/กระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ แปลผลการดำเนินงาน เพื่อหาบทสรุปได้อย่างมีประสิทธิผล
  6. สามารถใช้เครื่องมือทันสมัย – การเลือกใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย ประยุกต์ใช้เครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย มีทักษะในเลือกใช้เครื่องมือในการทำโครงงานทางวิศวกรรมไฟฟ้าหรือทางไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและทันสมัย  สร้างเครื่องมือ เทคนิค ทรัพยากรที่เหมาะสมและทันสมัย
  7. สามารถทำงานด้วยตนเอง และทำงานเป็นทีม – สามารถทำงานด้วยตนเองและสามารถทำงานในสถานะผู้นำของทีมและสมาชิกของทีม
  8. สามารถติดต่อ สื่อสาร กับคณะทำงาน  องค์กรวิชาชีพ กับสังคม – สามารถอธิบายสื่อสารให้กับผู้อื่นเข้าใจได้ ทั้งในรูปแบบการเขียนเชิงวิชาการ และการนำเสนอด้วยวาจา
  9. ตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานของวิศวกรต่อสังคม – จะต้องตระหนัก และรับผิดชอบถึงผลการปฏิบัติงานต่อความปลอดภัย สาธารณสุขชุมชน วัฒนธรรมและสังคม และการปฏิบัติงานในเชิงกฎหมาย
  10. มีจริยธรรม – มีคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีวิสัยทัศน์ต่อวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ
  11. ตระหนัก และ/หรือสามารถทำงานโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน และเศรษฐกิจพอเพียง – จะต้องตระหนักและรับผิดชอบในการปฏิบัติงานต่อสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติงานแบบยั่งยืนและยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  12. การจัดการความเสี่ยงและการลงทุน ตระหนัก และ/หรือสามารถจัดการความเสี่ยง และการลงทุน – จะต้องตระหนัก และ/หรือมีความรู้ในการจัดการความเสี่ยง และการลงทุน ความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์  และสามารถบริหารความเสี่ยงของการดำเนินงานในเชิงเศรษฐศาสตร์
  13. ตระหนัก และ/หรือสามารถเรียนรู้ตลอดชีพ – ตระหนักถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และตระหนักถึงความสำคัญในการเรียนรู้ตลอดชีพ โดยเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา

สำหรับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร มีลักษณะเด่นคือ จะต้องมีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า โดยต้องมีความสามารถในการวิจัยและมีทักษะตามมาตรฐานในระดับนานาชาติ รวมถึงมีความเป็นผู้นำ มีคุณธรรม มีจรรยาบรรณ และสามารถพัฒนาตนเองทางด้านวิชาการและสังคมต่อไปได้อย่างยั่งยืนในประชาคมโลก

คณะที่ปรึกษาจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board: IAB)

เพื่อให้การวางแผนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต และหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและสถานการณ์ภายนอกอื่นๆ ทางภาควิชาฯ จึงขอแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาจากภาคอุตสาหกรรม (Industrial Advisory Board: IAB) ของทั้ง 3 หลักสูตร ตามคำสั่งแต่งตั้งที่ วฟ.13/2565 โดยมีรายนามดังต่อไปนี้

  1. ดร.วิวัฒน์ วงศ์วราวิภัทร์
  2. ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ
  3. ดร.นัยวุฒิ วงษ์โคเมท
  4. ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล
  5. คุณวฤต รัตนชื่น
  6. คุณพงศกร อู่วุฒิพงษ์
  7. ดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ
  8. ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม
  9. คุณศรัณย์ เลิศหิรัญวงศ์

โดยคณะที่ปรึกษามีหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ของทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  2. ช่วยพัฒนาการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. สะท้อนความต้องการจำนวนบัณฑิตที่ตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมใน 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  4. ช่วยวางแผนพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรทั้ง 3 หลักสูตร สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567

ทุนการศึกษา ศ. ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ประจำปีการศึกษา 2566


Form Download